The King Rama 9 Royal Projects
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชสมภพ: 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่และยาวนานที่สุดในประเทศไทย
โดยบล็อคเกอร์นี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
1.โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
หัวหินนอกจากจะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล ซึ่งที่นี่คือจุดกำเนิดของโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ซึ่งมีที่มาจากมันเทศ และความห่วงใยที่มีต่อพสกนิกร ที่ประกอบอาชีพ ด้านการเกษตรกรรมในพื้นที่ของพระองค์
2.โครงการอัมพวา-ชัยพัฒนานุรักษ์ จ.สมุทรสงคราม
ถ้านึกถึงสถานที่ท่องเที่ยว ที่ส่งเสริมให้คนท้องถิ่นรู้จักรักษามรดกและวัฒนธรรมอันขึ้นชื่อ ทั้งยังเป็นชุมชนที่มีความสามัคคีเข้มแข็ง หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของชาวอัมพวา ที่ร่วมแรงร่วมใจกัน สานต่อภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของ ชาวอัมพวาในอดีตให้คงอยู่ ณ โครงการอัมพวา-ชัยพัฒนา-นุรักษ์ (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดสมุทรสงครามอย่างแน่นอน
3.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
ากการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทั้ง,ดิน,น้ำและป่าไม้ภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมป่าไม้ และกรมปศุสัตว์ 4 หน่วยราชการที่มีส่วนร่วมกัน พัฒนาพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จนกลายมาเป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาด้านเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สามารถแวะมาสัมผัสวิถีชีวิตเรียบง่ายพอเพียงตามแนวคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.พระราชวังบางปะอินและวัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ใครที่ชื่นชอบเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมยุโรป เมื่อได้มาท่องเที่ยวอยุธยา คงต้องตรงมาที่วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารเป็นที่แรก อารามหลวงบนเกาะกลางแม่น้ำแห่งนี้ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยศึกษาแบบจากโบสถ์ฝรั่งสไตล์โกธิค สังเกต ได้จากปลายยอดแหลมของอุโบสถ ภายในตกแต่งด้วยกระจกสีสวยงามนำเข้ามาจากอิตาลี กลายเป็นความงดงาม ที่แตกต่างไม่แพ้วัดไทยดั้งเดิม
5.โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ
ด้วยสภาพที่คดเคี้ยวของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณรอบพื้นที่เขตบางกระเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร การระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ จึงเป็น ไปได้ช้า จนไม่ทันช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาคลองลัดโพธิ์ให้กลายเป็นทางระบายน้ำ ที่สามารถเปิดประตูระบายน้ำได้ทันทีที่น้ำท่วมขังตัวเมืองในสองฝั่งน้ำ และปิดประตูระบายน้ำเมื่อเกิดน้ำทะเลหนุนสูง ทั้งยังมีการทดลองติดตั้งกังหันทดน้ำแบบหมุนตามแนวแกน (Axial Flow) และแบบหมุนขวางการไหล (Cross Flow) สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า อันเป็นต้นแบบไปสู่การการผลิตกระแสไฟฟ้าตามประตูระบายน้ำแห่งอื่นต่อไป ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์รวมไปถึงโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรมอย่าง สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 นั้น ถือเป็นการแก้ปัญหาได้ทั้งเรื่องน้ำท่วมและการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.เขื่อนป่าศักดิ์ชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
จังหวัดลพบุรี อาจขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ เป็นเมืองโบราณสถานแห่งสำคัญที่ตกทอดมาจากอาณาจักรละโว้ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มี ลิงเป็นสัตว์คู่บ้าน แต่ถึงกระนั้นยังมีหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่สามารถมานั่งพักผ่อนหย่อนใจ พร้อมดื่มด่ำกับธรรมชาติไปด้วยพร้อมกัน นั่นก็คือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์โครงการในพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2532 ที่ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสม ของโครงการเพื่อเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ทำการเกษตร และเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
7.พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี
ศูนย์การเรียนรู้อีกหนึ่งแห่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งขึ้นในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากเขตกรุงเทพฯ มากนัก
พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือศูนย์การเรียนรู้ของเยาวชนและบุคคลทั่วไป ที่จะได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อปวงชนชาวไทยมาตลอดชีวิต
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 10 โซน ภายใต้แนวคิด 10 โซนมหัศจรรย์การเรียนรู้วิถีเกษตรตามรอยพ่อ เป็นนิทรรศการที่รวบรวมผลงานของพ่อหลวง อาทิ พระราชกรณียกิจสำคัญ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนการพัฒนาพื้นที่การเกษตรและถิ่นทุรกันดาร
8.ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย-นาเฮียใช้ จ.สุพรรณบุรี
จากความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของตระกูลเจริญธรรมรักษา ที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ โดยการค้นหาเกษตรกรที่ขยันซื่อสัตย์และรับผิดชอบในหน้าที่มาช่วยพัฒนาระบบเมล็ดพันธุ์ข้าว จนได้ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ สูง ผ่านเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.พันธุ์พืชกำหนด ในปี พ.ศ. 2540 จนมีสมาชิกชาวนาที่ปลูกข้าวให้ จำนวน 313 ครอบครัว บนพื้นที่ประมาณ 5 พันไร่
9.ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จ.ประจวบคีรีขันธ์
ในช่วงปีพ.ศ. 2524–2539 ณ เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย อำเภอปราณบุรี บริเวณนี้เคยเป็นนากุ้งมาก่อน แต่ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ห่วงใย เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จวนอุทยานปรานบุรี ในปี พ.ศ. 2539 และได้ผ่านบริเวณพื้นที่แห่งนี้ แล้วพบว่าพื้นที่ป่าในแถบนี้ได้หายไป เพราะกลายเป็นนากุ้งไปหมดแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น